การจับไม้กลอง
 
 

ผู้ผลิตพยายามที่จะจับคู่ไม้กลองด้วยกันด้วยเบอร์เดียวกันและน้ำหนักเท่ากัน แต่ด้วยปัจจัยด้านสภาพอากาส ความชื้น ล้วนมีอิทธิผลต่อไม้ที่ทำ ทางออกที่ดีคือคุณต้องพยายามจับคู่ไม้กลองด้วยตนเอง(แต่ผมว่าบ้านเราคงทำอย่างนั้นไม่ได้) แต่ไม้กลองส่วนใหญ่นั้นบรรจุอยู่ในถุง ซึ่งก็สามารถเช็คได้ด้วยการกลิ้งบนพื้นที่เรียบๆเพื่อดูว่ามันงอหรือไม่

 

 
 
 
 
 
 
 
 
                 
 
   
เบอร์บนไม้กลอง
   
ผู้ผลิตไม้กลองส่วนใหญ่ ใส่เบอร์ของตนบนไม้เช่น 5A,7B,6A,หรือ 3B ซึ่งผู้ผลิตไม่มีระบบที่แน่นอนที่จะบอก คุณสมบัติที่แท้จริงของไม้ได้ จึงตั้งเป็นเบอร์ดังกล่าวและเบอร์ต่างๆนั้นก็ไม่สามารถนำไปเทียบกับผู้ผลิตบริษัทอื่น เบอร์นั้นช่วยบอกแค่เป็นระบบที่ทำให้คุณอ้างอิงในการซื้อให้ตรงความต้องการ นอกเหนือจากระบบเบอร์ อาจมีระบบอิงชื่อศิลปิน เช่นJohn Doe Jazz Model,Dolly Parton Swing Model ,Steve Gadd ฯลฯ คำแนะนำของผู้เขียนคือควรซื้อไม้กลองเก็บตุนไว้เป็นโหลครับ
                 
     
   
         
                 
 
                 
 
 
อิทธิของหัวไม้และเสียงที่เกิด
 
 

ตามกฎของเสียงสะท้อนบอกว่าจุดสัมผัสที่ยิ่งเล็กเท่าไหร่ก็จะทำให้เสียงที่เกิดขึ้น

เป็นคลื่นความถี่ที่ยิ่งสูงตามไปด้วยเช่นกัน และเช่นเดียวกันกับความหนาแน่นของไม้ยิ่งหนาแน่นมากเท่าไหร

่ก็จะทำให้เสียงที่เกิดขึ้นเป็นคลื่นความถี่ที่ยิ่งสูงตามไปด้วย ไม้ในอุดมคติของผู้เขียนเรื่องนี้คือไม้ที่มีน้ำหนัก ทำจากไม้ที่มีความหนาแน่นมาก มีหัวไม้เป็นทรงสามเหลี่ยม เพราะน้ำหนักและความ หนาแน่นของไม้ให้ความหนาแน่นของเสียงและหัวไม้ทรงสามเหลี่ยมให้เสียงที่ชัดเจนเวลาตีCymbal

 

 
   
   
   
   
   
   
   
 
                 
 
   
ลักษณะของหัวไม
   

รูปทรงของหัวไม้กลองแบ่งได้เป็น 3แบบใหญ่ๆ(ตามรูปที่ 2 ข้างบน)คือรูปทรงกลม(เหมือนลูกบอลหรือแอปเปิ้ล) รูปทรงรี(เหมือนลูกสาลี่) และรูปทรงสามเหลี่ยม(เหมือน ปิรามิด) ซึ่งลํกษณะของหัวไม้มีอิทธิผลอย่างมากต่อเสียงที่เกิดขึ้นเวลาเราตีCymbal

 
                 
         
         
                 
                 
 
 
 
 
 
 
   
   

สาธิตการจับไม้กลอง

 

     
   
     
   

 

การจับไม้กลองมีสองแบบใหญ่ๆคือ แบบดั่งเดิม (Traditional) และแบบ Matched

ซึ่งไม่มีข้อสรุปใดว่าแบบใดแบบหนึ่งจะดีกว่ากัน

แต่ควรจะศึกษาทั้งสองแบบถ้าทำได้ครับ

การจับแบบดั่งเดิมนั้น ส่วนใหญ่มาจากมือกลองพวก Jazz

ขณะที่การจับอีกแบบนั้นเริ่มจากพวกมือกลองเพลงร็อคยุค ปี60

มีข้อโต้แย้งกันว่าการจับแบบดั่งเดิมนั้นพลิกแผลง มีกลเม็ดที่ดีกว่า

ขณะที่การจับแบบ Matched ให้แรงที่ดีกว่า ซึ่งคุณควรจะลองดู

ทั้งสองแบบนะครับ เพื่อจะได้เข้าใจและก็มีมือกลองจำนวนไม่น้อย

ที่จับทั้งสองแบบขึ้นอยู่กับความต้องการลองดูการจับตามรูปครับ

     
   

 

     
   

เห็นได้ว่าการจับทั้งสองแบบนั้นมือขวาจะจับเหมือนกัน การจับนั้นอย่าจับแน่นนะครับจับแบบหลวมๆสบายๆ 

ส่วนตำแหน่งจับที่ถูกต้องให้แบ่งไม้เป็น 3 ส่วน เราจับโดยระดับของนิ้วโป้งข้างขวาอยู่ในระดับ 1ใน 3 

จากไม้ด้านล่าง หรือประมาณ 5 นิ้วครับ(ไม้กลองโดยทั่วไปยาวในระหว่าง(15.1 –16.3นิ้ว) 

ถ้าจับแบบ Matched นั้นมือซ้าย ต้องหงายมือขึ้นให้ไม้กลองอยู่ระหว่าง  

 นิ้วโป้งและนิ้วนาง โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วกลาง ควบคุมไม้ให้ติดมือเราอย่าแน่นนะครับ

 ตำแหน่งที่ถูกคือ มืออยู่ตำแหน่งประมาณ 2นิ้วจากปลายไม้ครับ  ดูการจับตามรูปครับ  
     
   

 

     
   



การเคลื่อนไหวของมือขวา โดยใช้ข้อมือขวายกขึ้น 


ย้ำว่าข้อมือนะครับไม่ใช่ยกมือขึ้นแล้วปล่อยข้อมือลงให้ขนานกับพื้น


แล้วทำซ้ำๆครับ 1& 2 ไม้ควรขึ้นลงตรงครับอย่าเอียง
 
โดยการจับแบบMatched นั้นมือซ้ายขวานั้นเหมือนกัน

 ส่วนการจับแบบดั่งเดิมนั้น มือซ้ายต้องหงายมือขึ้น  
 
แล้วใช้ข้อมือยกไม้ขึ้น ประมาณ7-8 นิ้ว แล้วใช้ข้อมือ บิดลง 

แล้วลองทำซ้ำ1& 2เช่นเดียวกัน ไม้ควรเคลื่อนไหวตรงไม่เฉียงครับ  

 การจับแบบดั่งเดิมนี้ มือซ้ายอาจ ฝกใหม่อาจไม่ถนัด 

ต้องฝึกบ่อยครับ อย่าลืมนะครับ ว่าให้ใช้แต่ข้อมือ   

ถึงแม้ว่าจะต้องการตีดังๆก็ใช้ข้อมือและนิ้วช่วย
 
ไม่จำเป็นต้องใช้ทั้งแขนครับ นอกจากจะต้องการให้เกิดความรู้สึกว่าเล่นอย่างรุนแรง
  
เช่นแนวเพลง ร็อค อาจใช้การยกขึ้นลงของแขนแสดงออก แต่จริงแล้วก็ยังใช้ข้อมืออยู่ดีครับ  
     
   

 

       
             
     
   
         
         
         
         
         
       
กลับหน้าหลัก